Home » แนะนำวิธีการ ตรวจสอบเครน ด้วยตัวเองอย่างคร่าวๆ

แนะนำวิธีการ ตรวจสอบเครน ด้วยตัวเองอย่างคร่าวๆ

by Andrea Palmer
217 views
1.แนะนำวิธีการ ตรวจสอบเครน ด้วยตัวเองอย่างคร่าวๆ

วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการ ตรวจสอบเครน ด้วยตัวเองอย่างคร่าวๆ 

ผู้รับเหมาหลายๆ ท่านน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า ตรวจสอบเครน คือ อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในการทำงานด้านอุตสาหกรรม และเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่พลาดไม่ได้ในการทำงาน เพราะนอกจากเรื่องของความปลอดภัยต่อลูกจ้างแล้ว ยังปลอดภัยต่อภาพรวมการทำงานอีกด้วย และแน่นอนว่ามีกฎหมายข้อบังคับเกี่ยวกับการตรวจเครนอีกด้วย

ดังนั้น ผู้รับเหมาน่าจะกำลังมองหาผู้ให้บริการตรวจเครนที่ดีและได้มาตรฐาน แต่ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนเลยว่าการ ตรวจสอบเครน ด้วยตัวเอง สามารถทำอย่างไรได้บ้าง 

กฎหมายเกี่ยวกับการ ตรวจสอบเครน 

เริ่มแรกเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการ ตรวจสอบเครน กันก่อน กฎหมายการ ตรวจเครน คือ การที่ผู้รับเหมาหรือผู้ว่าจ้าง จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบเครื่องจักรกลที่ใช้ทุ่นแรงในการยกของขึ้นลงด้วยเชือกสลิง ที่เรียกว่า เครน หรือ ปั้นจั่น 

ตามกฎหมายข้อ 57 นายจ้างจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบเครน ทั้งก่อนการติดตั้งและหลังจากการติดตั้ง ตามรายละเอียดที่ได้ระบุไว้ในข้อ 56 และจะต้องมีเอกสารยืนยันการตรวจสอบอีกด้วย 

จากกฎหมายข้อ 56 ระบุว่า ความถี่ในการตรวจสอบเครน ตามประกาศจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะแบ่งตามลักษณะการใช้งานของเครน ดังนี้ 

  • ตรวจทุกๆ 3 เดือน สำหรับเครนที่ใช้ในการก่อสร้างตั้งแต่ 3 ตันขึ้นไป และเครนที่ใช้ในงานอื่นๆ ตั้งแต่ 50 ตันขึ้นไป
  • ตรวจทุกๆ 6 เดือน สำหรับเครนที่ใช้ในการก่อสร้างไม่เกิน 3 ตัน และเครนที่ใช้ในงานอื่นๆ ตั้งแต่ 3 – 50 ตัน
  • ตรวจทุกๆ 12 เดือน สำหรับเครนที่ใช้ในงานอื่นๆ ตั้งแต่ 1-3 ตัน

สำหรับเครนที่ไม่ได้ใช้งานนาน 6 เดือนขึ้นไป จะถือว่าต้องตรวจสอบใหม่ โดยจะมีขั้นตอนการตรวจสอบที่ละเอียดมากกว่าการตรวจสอบประจำปี 

2. เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน โดยหลักๆ ที่ควรตรวจในทุกๆ วันอย่างสม่ำเสมอ จะแบ่งออกเป็นสอ

ขั้นตอนการ ตรวจสอบเครน ที่ควรทำทุกวัน

การ ตรวจสอบเครน ไม่จำเป็นต้องทำอย่างละเอียดหรือใช้บริการรับตรวจเครนทุกวัน เนื่องจากผู้รับเหมาสามารถตรวจเครนได้ด้วยตัวเองทุกวัน เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน โดยหลักๆ ที่ควรตรวจในทุกๆ วันอย่างสม่ำเสมอ จะแบ่งออกเป็นสองสวน คือก่อน start เครื่อง และหลังจาก start เครื่อง ดังนี้เลย

การตรวจสอบเครน ก่อน start เครื่อง

  • ตรวจเช็กสัญลักษณ์ต่างๆ ในปุ่มกดหรือแผงควบคุม ว่าชัดเจนไหม มองเห็นได้ง่ายไหม มองรู้เรื่องไหม
  • ตรวจเช็กความเรียบร้อยตามรางสายเครน ว่ามีขยะหรือเศษวัสดุติดขัดอยู่หรือไม่
  • ตรวจสอบความสะอาดโดยภาพรวม
  • ตรวจสอบสนิมตามข้อต่อ หรือชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งอาจจะมีโอกาสทำให้การทำงานติดขัดได้
  • ตรวจสอบอุปกรณ์ยกน้ำหนักต่างๆ

การตรวจสอบเครน หลังจาก start เครื่อง 

  • ตรวจสอบสัญญาณเตือนต่างๆ ทั้งสัญญาณไฟ ว่าสว่างพอไหม มองเห็นได้ชัดเจนหรือไม่ และสัญญาณเสียง ว่าทำงานถูกต้องหรือไม่ ได้ยินชัดเจนไหม 
  • ตรวจสอบการทำงานของระบบควบคุม การเคลื่อนที่ในทิศทางต่างๆ และการควบคุมสลิงเครน 
  • ตรวจสอบปุ่มการทำงานต่างๆ บนแผงควบคุม ว่าสามารถกดได้ปกติไหม มีความติดขัดหรือไม่ 
  • ตรวจสอบระบบเบรก และระบบการหยุดฉุกเฉิน 

นอกจากนี้ผู้รับเหมายังสามารถตรวจสอบระบบอื่นๆ เพิ่มได้ด้วยตัวเอง หากตรวจพบแล้วว่ามีปัญหา ควรติดต่อช่างผู้เชี่ยวชาญเพื่อซ่อมแซมและแก้ไข ไม่ควรใช้งานเด็ดขาดหากพบข้อบกพร่องในการทำงาน

3.ทำไมถึงต้อง ตรวจสอบเครน ด้วยตัวเองทุกวัน ?

ทำไมถึงต้อง ตรวจสอบเครน ด้วยตัวเองทุกวัน?

แน่นอนว่าการทำงานในภาคอุตสาหกรรมนั้นจะต้องเน้นไปที่ความปลอดภัยเป็นหลัก ดังนั้น การตรวจเครนเป็นประจำ ทั้งตรวจด้วยตัวเอง และใช้บริการ รับตรวจเครน จึงถือว่าสำคัญมากๆ ในการทำงาน นอกจากการตรวจสอบเครนจะเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานให้กับผู้รับเหมาแล้ว การตรวจสอบเครนยังถือเป็นกฎหมายข้อบังคับ ที่ผู้รับเหมาทุกท่านะต้องปฏิบัติตาม มิเช่นนั้นอาจจะมีข้อบังคับตามกฎหมายได้ 

สำหรับท่านใดที่สนใจอยากจะหาผู้ให้บริการด้านการตรวจสอบเครนมืออาชีพ อย่าลืมที่จะเช็กรีวิว ตรวจสอบใบอนุญาตก่อนใช้บริการทุกครั้ง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

logo-studiozero

studiozero เว็บไซต์ข่าวสารเพื่อความปลอดภัยในการทำงานที่คุณสามารถอ่านความรู้ได้ฟรี! และอัปเดทข้อมูลใหม่ๆทุกวัน

ติดต่อเรา

เรื่องน่าสนใจ

ติดต่อเรา

@2024 – All Right Reserved. Designed and Developed by Studiozero