การมีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ในสถานประกอบการ เป็นเรื่องที่สำคัญตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ที่มีการระบุบทลงโทษชัดเจนสำหรับนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้
บทลงโทษตามกฎหมาย เมื่อไม่มี คปอ.
ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย พ.ศ. 2554 หากนายจ้างไม่จัดตั้ง คปอ. ตามที่กฎหมายกำหนด จะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย โดยมีบทลงโทษ ดังนี้
- โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
- ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
- หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทลงโทษดังกล่าวเป็นไปเพื่อยืนยันความสำคัญของการจัดตั้ง คปอ. ในสถานประกอบการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีสำหรับพนักงานทุกคน
ความสำคัญของการมี คปอ.
คปอ. มีบทบาทสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุและอุบัติภัยในสถานประกอบการ ด้วยหน้าที่ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง กำหนดมาตรการป้องกัน และดูแลการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัย การมี คปอ. ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงาน และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร
ข้อปฏิบัติที่สถานประกอบการควรดำเนินการ
เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและหลีกเลี่ยงบทลงโทษ สถานประกอบการที่เข้าข่ายตามกฎกระทรวงฯ กำหนดควรดำเนินการ ดังนี้
- จัดตั้ง คปอ. ให้ครบจำนวนตามกฎหมายกำหนด
- แต่งตั้งลูกจ้างที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นสมาชิกของ คปอ.
- ส่งลูกจ้างที่ถูกแต่งตั้งเข้า อบรม คปอ. ตามกฎหมายกำหนด
การปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้สถานประกอบการปลอดภัยมากขึ้น แต่ยังช่วยให้หลีกเลี่ยงการถูกปรับหรือบทลงโทษทางกฎหมาย และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ผู้ประกอบการอาจถูกลงโทษ
เราเชื่อว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจในการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด แต่ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่รู้ว่าสถานประกอบการต้องมี คปอ. หรือการดำเนินเอกสารต่างๆ ไม่ทันเวลา เราได้รวมสิ่งหลักๆ ที่ นายจ้างควรรู้เกี่ยวกับ คปอ. ดังนี้
1. ไม่ทราบว่าสถานประกอบการของคุณต้องมี คปอ.
มีสถานประกอบการบางประเภทที่ต้องมี คปอ. ซึ่งได้จัดตามกฎกระทรวงจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 (แนบไว้ท้ายกฎหมาย) จะแบ่งออกเป็นบัญชี 1 2 และ 3 ตามระดับความอันตรายของธุรกิจ ซึ่งธุรกิจที่จัดอยู่ในทั้ง 3 บัญชีต้องมี คปอ. เมื่อมีพนักงานภายในองค์กรรวมทั้งหมด 50 คนขึ้นไป ซึ่งจะมีจำนวน คปอ. เท่าไหร่นั้น แตกต่างไปตามจำนวนพนักงาน
2. ไม่ทราบวันที่กำหนดต้องมี คปอ. ภายในกี่วัน
เมื่อองค์กรจัดอยู่ในประเภทสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง และเมื่อมีจำนวนพนักงานครบตามกำหนด นายจ้างต้องแต่งตั้งลูกจ้างมาเป็น คปอ. พร้อมส่งคำสั่งแต่งตั้งต่ออธิการบดีภายใน 15 วัน จากนั้นจึงส่งพนักงานที่แต่งตั้งเข้าอบรม คปอ. ตามศูนย์ฝึกที่ได้รับอนุญาตภายใน 30 วัน
บทสรุป
การมี คปอ. เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสถานประกอบการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติตามกฎหมายไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ แต่ยังเสริมสร้างความมั่นคงและยั่งยืนขององค์กรในระยะยาว การดำเนินการตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติความปลอดภัย พ.ศ. 2554 จึงเป็นสิ่งที่สถานประกอบการทุกแห่งควรให้ความสำคัญและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด